วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ประโยคพาเพลิน


เพลง  ประโยค


ประโยค ๓ ส่วน มี ประธาน  กริยา  กรรม
ยังฝังใจจำคำว่า “แมว กิน ปลา”
“แมว” นั้นเป็นประธาน
“กิน” นั้นเป็นกริยา
กรรมนั้นคือ “ปลา”
“แมว กิน ปลา” ประโยค ๓ ส่วน ๆ


ประโยค  คือ คำหรือกลุ่มคำที่นำมาเรียบเรียงแล้วสามารถสื่อสารได้ความสมบูรณ์ ใคร  สิ่งใด  ทำอะไร  อย่างไร

ฉันตื่นนอนตั้งแต่เช้า

ส่วนประกอบของประโยค

ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน
  ๑.  ภาคประธาน
  ๒.  ภาคแสดง
ภาคประธาน      ส่วนที่เป็นผู้กระทำหรือแสดงอาการ  ซึ่งเป็นคำนามหรือคำสรรพนาม  แบ่งเป็น  ประธาน  และบทขยายประธาน
ภาคแสดง     ส่วนที่แสดงอาการหรือความเป็นไปของประธาน  แบ่งเป็น  กริยา  กรรม บทขยายกริยา และบทขยายกรรม
ชนิดของประโยค
ประโยค ๒ ส่วน
ประโยคที่ประกอบไปด้วย  ประธาน(ขยายประธาน) + กริยา(ขยายกริยา)

เต่าคลาน
ประโยค ๓ ส่วน
ประธาน(ขยายประธาน) + กริยา(ขยายกริยา) + กรรม(ขยายกรรม)

เราปลูกต้นไม้

💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓

อุ๊ย!!!! คำอุทาน



  ความหมายของคำอุทาน  


              คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  เช่น

                      -  เฮ้อ!  ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย

                      -  เมื่อไรเธอจะตัดผมตัดเผ้าเสียทีจะได้ดูเรียบร้อย

 ชนิดของคำอุทาน

  คำอุทานแบ่งเป็น  ๒  ชนิด ดังนี้

 ๑.  คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์  และความรู้สึกของผู้พูด  เช่น

                ตกใจ             ใช้คำว่า         วุ้ย  ว้าย  แหม  ตายจริง

               ประหลาดใจ    ใช้คำว่า         เอ๊ะ  หือ  หา

               รับรู้ เข้าใจ      ใช้คำว่า         เออ  อ้อ  อ๋อ

              เจ็บปวด           ใช้คำว่า         โอ๊ย  โอย  อุ๊ย

              สงสาร เห็นใจ   ใช้คำว่า         โธ๋  โถ  พุทโธ่   อนิจจา

              ร้องเรียก          ใช้คำว่า         เฮ้ย   เฮ้   นี่

              โล่งใจ              ใช้คำว่า         เฮอ  เฮ้อ

              โกรธเคือง        ใช้คำว่า         ชิชะ   แหม 
                                                                                     
  

๒.  คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น  เช่น


               -  เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด

                -  หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก

                -  พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ

หน้าที่ของคำอุทาน  มีดังนี้คือ

 ๑.  ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด  เช่น

               -  ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา

                -  โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ

                -  เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
  
๒.  ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท  เช่น

               -  ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

                -  เมื่อไรเธอจะหางงหางานทำเสียที

                -  เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
  
 ๓. ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์  เช่น

               -  แมวเอ๋ยแมวเหมียว

                -  มดเอ๋ยมดแดง

                -  กอ เอ๋ย กอไก่

             💗💗💗💗💗💗           💗💗💗💗💗💗            💗💗💗💗💗💗

คำบุพบทหรรษา...

                
            สวัสดีค่ะทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมารู้จักกับชนิดของคำกันนะคะ  ซึ่ง เมื่อแบ่งชนิดของคำแล้ว ในระดับประถมศึกษานั้นควรรู้จักทั้ง 7 ชนิด คือ คำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  คำวิเศษณ์  คำบุพบท  คำสันธาน(คำเชื่อม)  และคำอุทาน

ซึ่งในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นั้น โดยหลักคือ คำบุพบท  คำสันธาน  และคำอุทาน ค่ะ  สำหรับบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับคำบุพบทกันนะคะ

คำบุพบท

คำบุพบท  คือ คำที่ใช้เชื่อมคำหรือขยายคำที่อยู่ข้างหน้าให้สัมพันธ์กัน
เรามารู้จักคำบุพบทแต่ละชนิดกันหน่อยนะ

      1.       บอกสถานที่  มักใช้คำว่า ใกล้  ไกล บน  ล่าง  หน้า  หลัง ริม  ใน  นอก ฯลฯ

รถจอดอยู่ริมถนน
วัดอยู่หลังโรงเรียน

รถจอดอยู่ริมถนน

      2.       บอกความเป็นเจ้าของ มักใช้คำว่า  ของ  แห่ง ฯลฯ

หนังสือของห้องสมุด
โรงละครแห่งชาติ
พวกเราอ่านหนังสือของห้องสมุด

      3.       บอกความเกี่ยวข้อง  มักใช้คำว่า กับ  แก่  แด่  ต่อ ฯลฯ

ครูแจกหนังสือแก่นักเรียน
ฉันไปตลาดกับพ่อ
คุณยายถวายของแด่พระสงฆ์
พ่อแม่มีพระคุณต่อลูก

ฉันถวายของแด่พระสงฆ์

  4.       บอกเวลา มักใช้คำว่า ตั้งแต่  จน  เมื่อ กระทั่ง ฯลฯ

ฝนตกหนักเมื่อเช้า
เขายืนจนเมื่อย
เช้าถึงเย็นไม่มีใครมา


ฝนตกหนักเมื่อเช้า 


      5 .       บอกความประสงค์  มักใช้คำว่า  เพื่อ  สำหรับ ฯลฯ

พ่อทำงานเพื่อครอบครัว
ขนมชิ้นนี้สำหรับน้อง


พ่อทำงานเพื่อครอบครัว

สระในภาษาไทย

"สระในภาษาไทยมีด้วยกันมากมาย
เสียงยาว-เสียงสั้นต่างกัน 21 ตัว
ต้องจำไว้ในดี  มามาซิมาร้องสระพร้อมกัน"



      สวัสดีค่ะ  เรามาเรียนรู้เรื่องของสระในภาษาไทยกันนะ
หนังสือหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวถึงรูปสระและเสียงสระในภาษาไทยว่ามี ๒๑ รูป 

รูปสระ

แล้วทั้ง 21รูปนั้นจะตรงกับที่เราทราบมาหรือไม่ดูลองกันนะ

1.      ะ         เรียกว่า          วิสรรชนีย์                                                                       
            2.       ั         เรียกว่า          ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
            3.       ็         เรียกว่า          ไม้ไต่คู้
            4.      า        เรียกว่า          ลากข้าง
            5.        ิ        เรียกว่า          พินทุ หรือ พิทุอิ
            6.       ่         เรียกว่า          ฝนทอง
            7.       ่ ่        เรียกว่า          ฟันหนู
            8.       ํ         เรียกว่า          นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
            9.       ุ         เรียกว่า          ตีนเหยียด
          10.       ู         เรียกว่า          ตีนคู้
          11.     เ           เรียกว่า         ไม้หน้า
          12.    ใ           เรียกว่า        ไม้ม้วน
          13.    ไ           เรียกว่า        ไม้มลาย
          14.    โ           เรียกว่า        ไม้โอ
          15.    อ          เรียกว่า        ตัวออ
          16.    ย          เรียกว่า        ตัวยอ
          17.    ว          เรียกว่า         ตัววอ
          18.    ฤ          เรียกว่า        ตัว ฤ (รึ)
          19.    ฤๅ        เรียกว่า        ตัว ฤๅ (รือ)
          20.    ฦ          เรียกว่า        ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
          21.    ฦๅ        เรียกว่า        ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

            เสียงสระ

               เสียงสระมี ๓ ชนิด
            ๑. สระแท้ หรือ สระเดี่ยว
            ๒. สระประสม
              ๓. สระเกิน


   เสียงสระนั้นมีทั้งหมด 21 เสียง  ซึ่งตัดในส่วนที่เป็นเสียงสระเกินออก  รวมทั้งเสียงของสระประสมในส่วนที่เป็นรัสสระ(สระเสียงสั้น)ออกนั้นเอง

พยัญชนะหรรษา

รู้หรือไม่...อักษรไทยเกิดได้อย่างไร

ประวัติอักษรไทย


              พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เมื่อ  พ.ศ.๑๘๒๖ โดยดัดแปลงมาจากอักษรไทยเดิมและอักษรขอมหวัด อักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดขึ้นนั้นมีลักษณะแตกต่างจากอักษรปัจจุบันอยู่บ้าง  ต่อมาสมัยพระมหาธรรมราชาลิไททรงเปลี่ยนแปลงอักษร ในบางประการแต่ยังคงลักษณะใกล้เคียง  แบบตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางไว้ ครั้งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงปฏิรูป  การเขียนอักษรหลายอย่าง  เช่น  มีการใช้ไม้ทันอากาศแทนการเขียนอักษรซ้อน  มีการเพิ่มอักษรใหม่บางตัว  เป็นต้น  แต่ก็ไม่ทำให้อักษรไทยเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ยังคงใช้ตัวอักษรเหมือนสมัยสมเด็จพระนารายณ์-มหาราชแต่เพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์ครบทั้ง    รูป ตัวอักษรไทยสมัยรัชกาลที่๑  เป็นแบบอย่างการเขียนตัวอักษรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  ต่อมาสมัยหลัง ๆ  ได้มีผู้คิดลักษณะอักษรและวิธีเขียนตัวอักษรแบบใหม่ ๆ อีกหลายวิธี แต่ไม่ได้รับความนิยม การที่แต่ละยุคแต่ละสมัย ได้พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอักษรก็เพื่อความสะดวกในการเขียน  ปัจจุบันการเขียนหนังสือไทยจะต้องเป็นไปตามระเบียบการใช้ตัวสะกด
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานซึ่งอาจมีการแก้ไขปรับปรุงในการพิมพ์แต่ละครั้ง
        
          เรารู้หรือไม่ว่าภาษาไทยนั้นมีพยัญชนะจำนวนกี่ตัว...แล้วเสียงของพยัญชนะหล่ะจะมีจำนวนเหมือนเท่ากันกับรูปหรือไม่   เรามาทำความรู้จักกันนะคะ


พยัญชนะไทยในปัจจุบันมี ๔๔ ตัว แต่ ใช้เพียง ๔๒ ตัว โดยมีพยัญชนะที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ ปี พ..๒๔๔๕  อยู่ ๒ ตัว ได้แก่ ฃ ฅ (กรมวิชาการ, ๒๕๔๕ : ๖๙) พยัญชนะไทย มี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป  ดังนี้
เมื่อรู้อย่างนี้เเล้วเราสามารถตอบได้เลยว่าพยัญชนะไทยนั้นมีทั้งหมด 44รูป  21 เสียงนั้นเองค่ะ

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

ยินดีที่ได้รู้จัก

วัดีค่...<(-๐๐-)>

       เว็ปไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้วิชา ภาษาไทย ในรูปแบบใหม่ที่ไม่จำกัดเพียงในห้องเรียน ซึ่งเราจะมาแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันนะคะ                                                                                                                                   โดย...


   คุณครู วัชราภรณ์ ฉันทปัญญา ใครๆก็เรียกเราว่า                                "มิสพิม"

วันเกิด                : วันอาทิตย์  ที่ 10  มีนาคม  2534
กำลังศึกษา        : ประกาศนียบัตรบัณฑิต (วิชาชีพครู)
ระดับการศึกษา  : ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชา ภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาชีพ                 : ครู   วิชาภาษาไทย  ระดับประถมศึกษาปีที่5  โรงเรียนมารีย์อนุสรณ์ อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์

...แล้วเราจะ รัก ภาษาไทยไปด้วยกัน...

❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤