ประวัติอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น
เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ โดยดัดแปลงมาจากอักษรไทยเดิมและอักษรขอมหวัด อักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดขึ้นนั้นมีลักษณะแตกต่างจากอักษรปัจจุบันอยู่บ้าง ต่อมาสมัยพระมหาธรรมราชาลิไททรงเปลี่ยนแปลงอักษร ในบางประการแต่ยังคงลักษณะใกล้เคียง แบบตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางไว้ ครั้งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงปฏิรูป การเขียนอักษรหลายอย่าง เช่น
มีการใช้ไม้ทันอากาศแทนการเขียนอักษรซ้อน มีการเพิ่มอักษรใหม่บางตัว เป็นต้น
แต่ก็ไม่ทำให้อักษรไทยเปลี่ยนแปลงไปมากนัก
ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็ยังคงใช้ตัวอักษรเหมือนสมัยสมเด็จพระนารายณ์-มหาราชแต่เพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์ครบทั้ง ๔ รูป ตัวอักษรไทยสมัยรัชกาลที่๑ เป็นแบบอย่างการเขียนตัวอักษรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาสมัยหลัง
ๆ
ได้มีผู้คิดลักษณะอักษรและวิธีเขียนตัวอักษรแบบใหม่ ๆ อีกหลายวิธี
แต่ไม่ได้รับความนิยม การที่แต่ละยุคแต่ละสมัย ได้พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอักษรก็เพื่อความสะดวกในการเขียน ปัจจุบันการเขียนหนังสือไทยจะต้องเป็นไปตามระเบียบการใช้ตัวสะกด
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานซึ่งอาจมีการแก้ไขปรับปรุงในการพิมพ์แต่ละครั้ง
เรารู้หรือไม่ว่าภาษาไทยนั้นมีพยัญชนะจำนวนกี่ตัว...แล้วเสียงของพยัญชนะหล่ะจะมีจำนวนเหมือนเท่ากันกับรูปหรือไม่ เรามาทำความรู้จักกันนะคะ
พยัญชนะไทยในปัจจุบันมี
๔๔ ตัว แต่ ใช้เพียง ๔๒ ตัว โดยมีพยัญชนะที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๔๕ อยู่
๒ ตัว ได้แก่ ฃ ฅ (กรมวิชาการ, ๒๕๔๕ : ๖๙) พยัญชนะไทย มี ๒๑ เสียง
๔๔ รูป ดังนี้
เมื่อรู้อย่างนี้เเล้วเราสามารถตอบได้เลยว่าพยัญชนะไทยนั้นมีทั้งหมด 44รูป 21 เสียงนั้นเองค่ะ
ดีมากเลยค่ะ ได้ทราบประวัติเกี่ยวกับภาษาไทยด้วย
ตอบลบขอบคุณสำหรับเนื้อหาสาระดีๆ
ตอบลบมีประโยชน์มากๆค่ะ
ตอบลบได้ความรู้มากเลยค่ะ
ตอบลบรู้เรื่องชัดเจนค่ะ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบว้าว สุดยอดค่ะ
ตอบลบมีความเข้าใจมากขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ